5 วิธีเอาชนะความขี้เกียจซ้อม

5 วิธีเอาชนะความขี้เกียจซ้อม

นักดนตรีหลายๆคนมักจะพยายามหาทางลัดเพื่อที่จะเล่นดนตรีให้เก่งได้อยากที่ใจอยาก แต่มันติดอยู่นิดเดียวคือ “ขี้เกียจซ้อม” เรามักจะมีเหตุผลมากมายที่จะขี้เกียจ จริงอยู่ว่าการเล่นดนตรีมันสนุก แต่เห็นด้วยใช่มั้ยว่าการซ้อมนั้นมันไม่สนุกเอาซะเลย แต่ถ้าไม่ซ้อมแล้วจะเก่งได้อย่างไร!! ฉะนั้นวันนี้เราจะมาเสนอ 5 วิธีเอาชนะความขี้เกียจซ้อม ที่มันอาจจะพอช่วยให้คุณอยากซ้อมขึ้นมาได้บ้าง!!


ความขี้เกียจเป็นปัญหาหลักของนักดนตรีทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ มือสมัครเล่น มืออาชีพ รวมถึงคุณและพี่เต่าเองก็ยังขี้เกียจกันเป็นปกติ แต่มันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปฎิวัติตัวเองเพื่อความเป็นเลิศทางด้านดนตรีของเรา!! ไม่มีเวลาแล้ว ต้องลุยแล้ว ไปดิว่ะ!!

1.ตั้งเป้าหมาย

แน่นอนว่าถ้าเราทำอะไรแล้วมีเป้าหมายที่ชัดเจนเราจะไม่หลงทาง การเล่นดนตรีก็เช่นกัน ถ้าคุณรู้สึกหมดไฟหรือขี้เกียจซ้อมให้ลองตั้งเป้าหมายสิ่งที่คุณอยากจะทำ ถ้าให้ดีลองตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆ หรือเป้าหมายสนุกๆ เพื่อไม่ให้เบื่อและท้อไปซะก่อน เช่น การประกวดดนตรี เล่นในงานปาร์ตี้บ้านเพื่อน เล่นงานโรงเรียน เล่นให้แฟนฟัง เล่นโชว์สาว เล่นแอ็คเพื่อน หรือเป้าหมายอะไรก็ได้ที่มันทำให้คุณต้องเตรียมตัวก่อนถึงวันนั้น หรือจะเป็นเป้าหมายที่จริงจังขึ้นก็ได้เพื่อกระตุ้นตัวเองให้มากขึ้น เช่น เล่นออกงาน เล่นกลางคืน หรือแม้แต่ต้องการจะมีผลงานเป็นของตัวเอง เมื่อตั้งเป้าได้แล้วก็พยายามรักษาวินัยในการฝึกโดยพยายามนึกถึงผลที่มันจะเกิดขึ้นในวันนั้นเอาไว้มากๆ คิดไว้ว่าคุณจะเท่ห์แค่ไหนถ้าคุณและวงของคุณเล่นดีจนมีคนลุกขึ้นปรบมือให้อย่างกึกก้อง!! และเมื่อถึงวันที่ตั้งเป้าไว้แล้วคุณจะเห็นว่าการฝึกซ้อมแม้มันจะน่าเบื่อสักหน่อยแต่มันจะทำให้คุณสนุกและมีความสุขในการเล่นดนตรีมากขึ้นแค่ไหน

 

5 วิธีเอาชนะความขี้เกียจซ้อม
5 วิธีเอาชนะความขี้เกียจซ้อม

2.หาแรงบันดาลใจ

การหาแรงบันดาลใจเป็นอีกข้อที่สำคัญมากในการที่เราจะพยายามทำอะไรสักอย่าง เพราะมันจะทำให้ฝันของคุณเห็นภาพกว้างขึ้นและชัดเจนมากขึ้น สำหรับการเล่นดนตรีน้้นแรงบัลดาลใจมีความสำคัญมากๆ คุณสามารถหามันได้จากซึ่งที่คุณชอบไม่ว่าจะเป็น นักดนตรีที่เป็นไอดอลของคุณ วงดนตรีที่คุณคลั่งไคล คนเก่งๆที่คุณอยากเป็นอย่างเขา หรือแม้แต่คนรอบข้างที่ค่อยสนับสนุนคุณ พี่เต่าอยากแนะนำให้ลองหาอ่านบทสัมภาษณ์หรือแนวคิดของนักดนตรีที่คุณชอบตามนิตยสารดนตรีหรือคลิปตามยูทูปเพราะคุณจะได้แนวคิด แรงบันดาลใจ วิธีการเล่น และไฟในการหยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้ว ซ้อม ซ้อม ซ้อม และก็ซ้อม!!!

 

3.คลุกคลีกับคนเก่ง

ถ้าคุณรู้สึกว่าขี้เกียจจะซ้อมหรือไม่รู้จะซ้อมไปทำไมให้คุณไปทำความรู้จักกับนักดนตรีเก่งๆที่อยู่รอบข้างคุณ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนวงอื่นๆ นักดนตรีรุ่นพี่ที่คุณเจอที่ห้องซ้อม หรือแม้แต่คุณลุงคุณอาที่มีประสบการณ์ทางดนตรี เพราะการที่เราอยู่ในบรรยากาศที่มีแต่ดนตรี พูดคุยกันเรื่องดนตรี แบ่งปันและแชร์ความรู้เรื่องดนตรีมันจะทำคุณซึมซับและอยากจะเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งแวดล้อมที่คุณอยู่ ลักษณะเหมือนที่คุณติดเพื่อนแล้วชวนกันไปเที่ยวเล่นทำเรื่องสนุกๆกันนั้นแหละ นอกจากจะได้ความรู้และไฟในการซ้อมแล้ว การอยู่ในบรรยากาศของดนตรีบ่อยๆมันยังเป็นการเช็คความรู้สึกของคุณว่า คุณชอบดนตรีจริงๆเปล่า

 

5 วิธีเอาชนะความขี้เกียจซ้อม
5 วิธีเอาชนะความขี้เกียจซ้อม

4.ออกไปดูโลกกว้าง

ถ้าคุณหมดไฟและรู้สึกว่ากีต้าร์ตัวนั้นมันช่างหนักอึ้งเกินกว่าที่จะประคองมันไว้บนตักและมือของคุณมันอ่อนแรงเกินกว่าจะทิ้งน้ำหนักลงไปที่สายกีต้าร์ เราแนะนำให้คุณวางมันลงและออกไปสู่โลกกว้างด้านนอก ออกไปหาวงดนตรีตามสถานบันเทิง หรือออกไปดูคอนเสิร์ตของวงที่คุณชอบ หรือแม้แต่ออกไปดูวงดนตรีของเพื่อนคุณซ้อมในห้องซ้อม ดูในส่ิงที่เขาเล่นและเปรียบเทียบกับตัวคุณเองอย่างตรงไปตรงมา และถ้าคุณจริงจังกับดนตรีมากพอคุณอยากให้คนอื่นมองคุณเหมือนอย่างที่คุณกำลังมองคนบนเวทีเหล่า แล้วคุณจะรู้สึกว่ากีต้าร์ของคุณมันเบาจนคุณยกมันได้ด้วยมือเดียวและมือของคุณแข็งแรงพอที่จะดีดมันได้ทั้งวัน เมื่อปลุกใจแล้วก็ไปซ้อมซะ!!

5.กลับเข้าสู่ระบบ

ถ้าคุณลองมันจนทุกทางแล้วแต่ก็ยังบังคับตัวเองให้หยิบกีต้าร์ขึ้นมาฝึกไม่ได้ เราแนะนำให้คุณพาตัวเองเข้าไปสู่ระบบเพื่อให้ระบบบังคับให้คุณต้องฝึก เช่น ไปเรียนดนตรีอย่างจริงจัง ข้อดีในการไปเรียนดนตรีก็คือ นอกจากที่คุณจะได้รับความรู้อย่างเป็นระบบระเบียบและเป็นขั้นเป็นตอนแล้ว คุณจะอยู่ในบรรยากาศของการฝึกฝนและแข่งขันอย่างจริงๆ เหมือนกับที่เราไม่อยากทำการบ้านในตอนเด็กๆแต่ที่ต้องทำก็เพราะโดนครูบังคับนั้นเอง แต่สำหรับวิธีนี้อาจจะเหมาะกับคนที่อยากเป็นนักดนตรีหรือยากมีความสามารถทางดนตรีแต่ไม่มีวินัยและไม่มีแรงบันดาลใจพอในการซ้อม หรือเด็กๆที่เพิ่งเล่นดนตรีได้ไม่นาน ก็ลองชั่งใจดูแล้วกันว่าคุณต้องใช้วิธีนี้รึเปล่า ถึงจะซ้อมได้!!

 

สรุป

ทั้ง 5 วิธีที่เราได้กล่าวมานั้นจริงๆแล้วมันก็คือการหาแรงกระตุ้นที่จะช่วยทำให้คุณอยากจะซ้อมมากขึ้นแค่นั้น แต่ท้ายที่สุดแล้วตัวคุณเองนั้นแหละที่จะต้องรักษาวินัยและกระตุ้นตัวเองให้ซ้อม เพราะถ้าคุณเอาแต่คิดว่าอยากจะเก่งไม่สามารถเอาชนะความขี้เกียจซ้อมได้ วิธีที่เราแนะนำทั้ง 5 ข้อหรือจะมากกว่านี้เป็นร้อยข้อมันก็ไม่มีประโยชน์ครับ “เพราะการเล่นดนตรีไม่ใช่เรื่องของความบังเอิญ แต่มันเป็นเรื่องของการฝึกฝน” ในครั้งหน้าเราจะมาแนะนำประโยชน์หรือวิธีการดีๆอะไรเกี่ยวกับเรื่องดนตรีก็รอติดตามให้ดีนะครับ อย่าลืมนะครับ การซ้อมเป็นหน้าที่ของคุณ แต่ถ้าเครื่องดนตรีเป็นหน้าที่ของ เต่าแดง !!

ติดต่อ สอบถามข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับดนตรี ได้ที่นี้

Facebook ► https://www.messenger.com/t/taodang/

Line Official ► @taodang อย่าลืมตัว @ นะครับ หรือ ที่ลิ้งนี้ http://line.me/ti/p/%40taodang

BLog สาระเกี่ยวกับดนตรี ความรู้ บทเรียน สอนดนตรี แบบฟรี ๆ ►https://blog.taodangmusic.com

คลิปรีวิว สาระเกี่ยวกับดนตรีีีีีีีีีีีีีีีีี รับชมได้ที่ Youtube ► https://www.youtube.com/user/AIBluesoda

 

 

Facebook Comments
[do_widget "WP Subscribe Widget"]