Monitor Speaker คืออะไร?

Monitor Speaker คืออะไร?

นักดนตรีหลายคนน่าจะเคยสงสัยเกี่ยวกับ Monitor Speaker หรือ ลำโพงมอนิเตอร์ ว่ามันคืออะไรกันแน่ นอกจากจะมีไว้ให้นักร้องเหยียบเท่ห์แล้วมันทำอะไรได้อีก ต่างจากลำโพงทั่วไปอย่างไร จริงๆแล้วมีไว้เพื่ออะไร และมีความสำคัญมากหรือน้อยอย่างไรบ้าง music tips วันนี้เราจะมาเคลีย์ใจเรื่องนี้กัน 



เราคงเคยเห็นลำโพงตัวหนึ่งที่จะชอบอยู่หน้าเวทีแล้วหันหน้าเข้าหานักดนตรีหรือนักร้องอยู่ประจำนั้นแหละครับเรียกว่า ลำโพงมอนิเตอร์ หน้าที่ที่เราหน้าจะพอรู้มาบ้างคือมันมีไว้ให้นักดนตรีและนักร้องได้ยินเสียงของตัวเอง มอนิเตอร์มีหลายรูปแบบหลายประเภทแตกต่างกันไปตามการใช้งานในแบบนั้นๆ เช่น จอมอนิเตอร์สำหรับดูภาพจากกล้องอย่างในกองถ่ายภาพยนตร์ หรือ มอนิเตอร์ไมค์แบบในการพูดทอค์ลโชว์ แต่ในที่เราจะมาพูดกันถึงมอนิเตอร์ที่ให้ในงานดนตรี เราไปเรียนรู้กันที่ละแบบเลย

Monitor Speaker คืออะไร?

 

Monitor Speaker คืออะไร?

Monitor Speaker หรือ ลำโพงมอนิเตอร์ คือลำโพงชนิดหนึ่งที่หน้าตาก็เหมือนกับลำโพงชนิดทั่วไปแต่การใช้งานมีความต่างกัน เพราะลำโพงที่เราใช้ดูหนังฟังเพลงทั่วๆไปนั้นจะเป็ลำโพงที่มีจุดขายเป็นเรื่องของเสียงที่ฟังแล้วต้องมีความไพเราะ ความกระหึ่ม แรงกระแทก และตอบสนองในย่านเสียงต่างๆเพื่อสร้างอารมณ์ให้การดูหนังฟังเพลง เช่น เวลาเราดูหนังสงครามผ่าน ลำโพง Home Theater เราก็จะได้ความใหญ่และความกระทึ่มของเสียง ความกระแทกกระทั้นของเสียง ตอบสนองต่อเสียงปืน เสียงระเบิด ได้ดี ทำให้เราได้รับอรรถรสในการรับชมหนังเรื่องนั้นได้อย่างเต็มที่ แต่ด้วยความที่ลำโพงแบบนี้มีการปรุงแตกเสียงมากเกินไปทำให้ไม่เหมาะในการใช้กับงานดนตรี ฉะนั้นงานดนตรีจึงจำเป็นจะต้องใช้ลำโพงแบบมอนิเตอร์ เพราะเสียงที่ออกจากมอนิเตอร์จะเป็นเสียงที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุดเพื่อให้ได้เสียงที่สมจริงที่สุดและเน้นความครบของย่านเสียงต่างๆ

Monitor Speaker คืออะไร?

คำหนึ่งที่เรามักจะได้ยินจากนักดนตรีเวลาที่เขาคุยกันเรื่องซาวด์เพลงคือ แฟลต (Flat) ซึ่งเป็นคำที่คนดนตรีให้ความสำคัญในการเลือกมอนิเตอร์ แฟลต คือ มอนิเตอร์ที่มีความเที่ยงตรง รับย่านเสียงต่างๆได้ครบถ้วนโดยต้องไม่เปลี่ยนย่านเสียงหรือเปลี่ยนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลองนึกถึงว่าถ้าเราต้องมิกซ์เพลงผ่านมอนิเตอร์ที่การปรับแต่งซาวด์แบบลำโพงฟังเพลงทั่วไป เราก็คงไม่รู้ว่าซาวด์จริงๆเพลงนั้นมันเป็นอย่างไร เช่น ถ้ามอนิเตอร์ตัวนั้นเด่นย่านเบสเมื่อเราเอาไปมิกซ์เพลงเราก็จะเข้าใจว่าเพลงเราย่านเบสเยอะเกินไปทำให้การปรับซาวด์อาจจะผิดเพี้ยนไปได้ นั้นคือสาเหตุว่าทำไมมอนิเตอร์ที่ให้ในงานเพลงควรจะต้อง Flat แต่เอาจริงๆก็ยังไม่มีลำโพงยี่ห้อไหนในโลกที่ทำมอนิเตอร์ที่แฟลตแบบ 100% ส่วนยี่ห้อไหนจะแฟลชมากหรือแฟลชน้อยกว่ากันก็อยู่ที่เราเป็นคนตัดสินจากการฟังเองแล้วละครับ 

Monitor Speaker คืออะไร?
Monitor Speaker คืออะไร?
Monitor Speaker คืออะไร?
Monitor Speaker คืออะไร?

หลักการทำงานของลำโพงมอนิเตอร์

ด้วยความที่ลำโพงมอนิเตอร์เป็นแค่ cabinet ไม่มี preamp และ power amp ทำให้ต้องใช้งานคู่กันอุปกรณ์ขยายสัญญาณเสียงอื่นๆ วิธีที่เราเห็นบ่อยๆก็เช่น การควบคุมด้วย Mixer เพื่อต่อตรงไปหน้าเวทีให้นักร้องและนักดนตรีคนอื่นๆได้ยินเสียงร้องของตัวเอง เพราะบนเวทีจะมีทั้งเสียงกลอง กีต้าร์ เบส และอื่นๆที่อาจจะทำให้นักร้องไม่ได้ยินเสียงตัวเองและร้องเพี้ยนได้ รวมถึงนักดนตรีในบางครั้งถ้าไม่มีหน้าตู้ของตัวเองเป็นมอนิเตอร์ก็ต้องอาศัย monitor speaker จากมิกซ์เหมือนกัน เช่น ร้านอาหารเล็กๆ วงโฟล์คซองที่เล่นกันน้อยชิ้น นอกจากการได้ยินเสียงที่ตัวเองร้องและเล่นแล้วมอนิเตอร์ยังทำให้เราบาลานซ์ซาวด์ที่เราได้ยินกับที่คนดูได้ยินได้ด้วย เพราะถ้าบนเวทีซาวด์ดีแต่ซาวด์หน้าเวทีที่ออกไปสู่คนฟังออกมาแย่ ซาวด์บนเวทีก็ไม่มีความหมาย

แต่บ่อยครั้งที่เราจะเจอว่าเสียงที่ออกจากมอนิเตอร์บนเวทีที่เราได้ยินกับเสียงที่ออกลำโพง PA ไปสู่คนดู มันเป็นคนละซาวด์กันเพราะมันมีตัวแปรมากมายที่ทำให้เกิดปัญหาอย่างนั้น เริ่มจากเรื่องง่ายๆอย่างอุปกรณ์เครื่องเสียง สถานที่ และอื่นๆอีกมากมาย อันนี้ก็เป็นปัญหาที่นักดนตรีต้องบาลานซ์กันเอาเอง

อีกแบบคือมอนิเตอร์ที่ใช้ในห้องอัดเสียง ซึ่งจะเป็นมอนิเตอร์ที่มีความ Flat และเน้นการรับย่านเสียงต่างๆที่ชัดเจนและเที่ยงตรงมากกว่า เพราะจะต้องมีการมิกซ์และมาสเตอร์ริ่งเพลง ทำให้ต้องการเสียงที่ชัดเจนในทุกๆย่านมากกว่า นอกจากนี้ยังมีห้องอัดแบบ home studio ที่กำลังเป็นที่นิยมของนักทำเพลงมือสมัครเล่นในยุคนี้อีกด้วย แต่ในรูปแบบ home studio จะมีระบบที่เรียบง่ายมากกว่าห้องอัดแบบมืออาชีพ เน้นการจบงานได้ด้วยคนคนเดียว

วิธีเลือกใช้งานลำโพงมอนิเตอร์

ในการเลือกใช้ลำโพงมอนิเตอร์นั้น อย่างแรกควรจะสนใจเรื่องเสียงก่อนเป็นลำดับแรก ต่อมาก็มาดูเรื่องการใช้งานว่าเราจะใช้มันทำอะไร ในที่เราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทง่ายๆคือ สำหรับฟังเพื่อความไพเราะ และ สำหรับทำงานเพลง

 

1.มอนิเตอร์เพื่อการฟังอย่างไพเราะ

มอนิเตอร์ชนิดนี้เป็นมอนิเตอร์สำหรับคนที่ต้องการความสุนทรีย์ในการฟังเพลงเพื่อความไพเราะหรือความผ่อนคลาย มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ คุณภาพและการรับย่านเสียงต่างๆก็ตามราคา แต่การตอบสนองอาจจะไม่ได้ Flat มากเท่าไร ยังมีคาแรคเตอร์ในแบบของยี่ห้อนั้นๆอยู่ แต่ถ้าถามว่ามันสามารถเอามา mix เพลงหรือใช้ในงานเพลงได้ไหม ก็ต้องบอกว่ามันทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ผู้ใช้อาจจะต้องเข้าคาแรคเตอร์ของมอนิเตอร์ตัวนั้นสักหน่อย เพราะด้วยความที่มันไม่ flat มาก แต่การรับย่านเสียงก็ยังคงครบถ้วนอยู่

ข้อดีของมอนิเตอร์แบบนี้คือจะทำงานง่าย เพราะมันมีความไพเราะในตัวอยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่บอกว่าคุณต้องรู้จักคาแรคเตอร์และสถานที่นั้นเพื่อไม่ให้มอนิเตอร์มันหลอกคุณได้

Monitor Speaker คืออะไร?
Monitor Speaker คืออะไร?

 

2.มอนิเตอร์เพื่องานดนตรี

อย่างที่บอกว่ามอนิเตอร์แบบนี้จะมีความ Flat มากกว่ามอนิเตอร์แบบแรก เพื่อให้เราได้ยินเสียงจากเพลงหรือเครื่องดนตรีนั้นจริงๆ การรับย่านเสียงแต่ละย่านจะทำได้ดีและเที่ยงตรงมากกว่าแบบแรก ให้การตอบสนองแต่ละความถี่แบบรวดเร็ว มอนิเตอร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการทำงานเพลงโดยเฉพาะ ที่ต้องการรายละเอียดเสียงดีเยี่ยม หาจุดผิดพลาดต่างๆ

สรุป

ทั้งหมดเป็นคำอธิบายในเรื่องมอนิเตอร์แบบคราวๆเพื่อให้เข้าใจในขั้นพื้นฐานการทำงานและระบบต่างของมันก่อน ก็เอาไว้ไปต่อยอดความรู้อื่นๆของคุณไปถ้ามีโอกาศคราวหน้าเราจะมาลงลึกในเรื่องของมอนิเตอร์กันให้มากกว่านี้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ สำหรับใครที่มีข้อสงสัยอะไรก็สอบถามกันเข้ามาได้เลยครับผม เราจะพยายามหาข้อมูลดีๆในเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีมาแชร์ให้กันฟังอีกครับผม อย่าลืมนะครับ การซ้อมเป็นหน้าที่ของคุณ แต่ถ้าเครื่องดนตรีเป็นหน้าที่ของ เต่าแดง!!


ติดต่อ สอบถามข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับดนตรี ได้ที่นี้

Facebook ► https://www.messenger.com/t/taodang/

Line Official ► @taodang อย่าลืมตัว @ นะครับ หรือ ที่ลิ้งนี้ http://line.me/ti/p/%40taodang

BLog สาระเกี่ยวกับดนตรี ความรู้ บทเรียน สอนดนตรี แบบฟรี ๆ ►https://blog.taodangmusic.com

คลิปรีวิว สาระเกี่ยวกับดนตรีีีีีีีีีีีีีีีีี รับชมได้ที่ Youtube ► https://www.youtube.com/user/AIBluesoda

Facebook Comments
[do_widget "WP Subscribe Widget"]