แนะนำวิธีการแกะเพลง สำหรับมือใหม่

แนะนำวิธีการแกะเพลง สำหรับมือใหม่

มือใหม่คนไหนที่กำลังมีปัญหากับการแกะเพลง หรือยังไม่รู้ว่าการแกะเพลงนั้นคืออะไร ควรจะเริ่มต้นอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ห้ามพลาด music tip วันนี้เลย เพราะพี่เต่าจะมาให้คำแนะนำและความรู้ต่างๆที่มือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับการแกะเพลง เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความสามารถทางดนตรีของเราต่อไป ถ้าพร้อมแล้วก็ ลุย!!


การแกะเพลง ถือเป็นทักษะหนึ่งที่นักดนตรีทุกคนควรจะต้องทำได้ เพราะเป็นการเรียนรู้ความสามารถทางดนตรีของคนอื่นๆและยังเป็นการพัฒนาทักษะทางดนตรีของเราไปในคราวเดียวกันด้วย ในการแกะเพลงนั้นเราจะได้ทั้งทักษะการเล่น การฟัง รวมถึงทฤษฎีดนตรีต่างๆ แต่การแกะเพลงที่จะทำให้เราได้ประโยชน์ที่สุดนั้น ควรจะมีขั้นตอนที่ถูกต้องและเป็นระบบ เพื่อที่เราจะได้ทักษะทางดนตรีเพิ่มมากขึ้นไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อม ขั้นตอนและวิธีการแกะเพลงนั้นก็มีมากมายไม่ตายตัว โดยมาจะยึดตามความถนัดของผู้เล่น ไม่มีถูกผิด แต่สำหรับสิ่งที่พี่เต่าอยากจะแนะนำมือใหม่ในการแกะเพลงนั้น เป็นวิธีที่พี่เต่าคิดว่าน่าจะง่ายและให้ประโยชน์กับมือใหม่มากที่สุด จะมีอะไรบ้างไป

แนะนำวิธีการแกะเพลง สำหรับมือใหม่

เลือกเพลง

ในขั้นตอนแรกนั้น น่าจะเริ่มจากการเลือกเพลงที่ต้องการจะแกะ โดยเลือกจากเพลงที่เราชอบเป็นการส่วนตัวก็ได้ เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้อยากเล่นเพลงให้ได้ อีกอย่างที่ห้ามมองข้ามเลยคือ ควรจะรู้ด้วยว่าทักษะของไปถึงไหนแล้ว มีมากพอที่จะแกะเพลงเพลงนั้นได้รึยัง เช่น ถ้าเราพึ่งจะหัดเล่นกีต้าร์ไฟฟ้าได้ไม่นาน จับคอร์ดยังไม่คล่อง แต่ต้องการที่จะเล่นเพลงยากๆ มีความซับซ้อนมาก หรือมีโซโล่เร็วๆ ก็คงจะไม่เหมาะเท่าไร เพราะนอกจากจะเสียเวลาแล้ว เราจะเล่นเพลงนั้นได้ออกมาอย่างไม่มีคุณภาพ เปรียบเสมือนนักกีฬาวิ่งที่ยังไม่มีทักษะและความแข็งแรงมากเท่าที่ควร ก็คงยากที่จะวิ่งได้เร็วและทำเวลาได้ดี การเล่นดนตรีก็มีหลักการไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้นในการเริ่มต้นควรจะเลือกเพลงที่ไม่ยากและซับซ้อนจนเกินไป หรืออาจจะเลือกเพลงที่ยากเกินความสามารถของเรามาซักเล็กน้อย เพื่อเป็นการฝึกทักษะใหม่ๆ และขยับความสามารถของเราขึ้นไปอีกด้วย

ฟังเพลงโดยรวม

เมื่อเลือกเพลงได้แล้ว ก็ฟังซัก 2-3 รอบ เพื่อสร้างความคุ้นเคย และทำความเข้าใจกับโครงสร้างของเพลงว่ามีท่อนอะไรบ้าง เข้าออก อย่างไร สัดส่วนของจังหวะและการตีคอร์ดเป็นอย่างไร พยายามฟังโดยเก็บรายละเอียดในเครื่องดนตรีที่เรารับผิดชอบให้ได้มากที่สุด ควรจะอยู่ในที่เงียบๆ เพราะการแกะเพลงจำเป็นต้องใช้สมาธิและการจดจ่อพอสมควร ควรใช้หูฟังหรือลำโพงที่มีคุณภาพซักหน่อยเพื่อที่เราจะได้ได้ยินรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ และเสียงต่างๆชัดเจนที่สุด จะช่วยในการแกะเพลงของเราสมบูรณ์มากขึ้น

แนะนำวิธีการแกะเพลง สำหรับมือใหม่

เริ่มแกะเพลง

มาถึงขั้นตอนนี้ที่สำคัญที่สุด คือการเริ่มลงมือแกะเพลง ในขั้นตอนนี้ต้องดูเป็นชนิดเครื่องดนตรีไปว่าจะมีขั้นตอนมากน้อยอย่างไร ถ้าเป็นกลองก็เริ่มจากการแกะแพทเทิน และ tempo ของเพลง สัดส่วนของเพลง จากนั้นก็มาแกะในส่วนของลูกส่งเข้าและออกในท่อนต่างๆ ถ้าเป็นเบส ก็เริ่มจากแกะจังหวะ คอร์ด แล้วมาแกะในส่วนของลูกส่ง ตัวเชื่อมต่างๆ และรายละเอียดต่างๆ เช่น เสียงสั้น-ยาว ของแต่ละโน้ต แต่ในส่วนของกีต้าร์จะมีความซับซ้อนและขั้นตอนที่มากกว่าซักหน่อย

แกะคอร์ด สำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่มากๆที่ยังไม่รู้เรื่องของสเกลและคีย์ต่างๆนั้นในการแกะคอร์ดก็อาจจะเริ่มจากการเซิร์ทหาคอร์ดเพลงที่จะแกะจากอินเตอร์เน็ต ดูว่าเพลงที่จะแกะนั้นมีคอร์ดอะไรบ้าง วิธีการจูนสายของเพลงนั้นเป็นแบบไหน ตั้งคีย์ E มาตรฐาน หรือตั้ง Eb และฟังสัดส่วนในการตีคอร์ดและเปลี่ยนคอร์ด จากนั้นลองตีคอร์ดตามเพลงดู ถ้ายังไม่คล่องหรือเป็นสัดส่วนที่ไม่เคยเล่นมาก่อนให้เริ่มจากช้าๆ ใจเย็นๆ อีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามคือเมื่อเจอคอร์ดที่เราไม่รู้จักหรือไม่เคยรู้วิธีจับมาก่อน อย่าข้ามหรือปล่อยผ่าน ให้พยายามจับคอร์ดตามเทนชั่นที่คอร์ดนั้นกำหนดมา เช่น ถ้าเราเจอคอร์ดในเพลงนั้นเป็น Cmaj7 ให้เราพยายามจับตามคอร์ดนี้ให้ได้แทนการจับคอร์ด C ปกติ ถ้าเราไม่รู้วิธีจับคอร์ดนั้นให้เอาชื่อของคอร์ดนั้นไปเซิร์ทดูในอินเตอร์เน็ทว่าคอร์ดนั้นมีวิธีการจับอย่างไร และลองฝึกจับตามโดยลองจับหลายๆฟอร์มคอร์ดแล้วลองเทียบดูว่าฟอร์มคอร์ดแบบไหนและตำแหน่งไหนให้เสียงใกล้เคียงกับคอร์ดนั้นๆของเพลงมากที่สุด ข้อดีของการพยายามจับคอร์ดให้ได้ตามที่เพลงบอกแบบเป๊ะๆนั้นจะช่วยให้ได้คาแรคเตอร์เสียงคอร์ดตามเพลงนั้นจริงๆ และยังได้วิธีการจับคอร์ดที่แปลกใหม่ ได้ทักษะเพิ่มขึ้น สามารถนำไปปรับใช้กับเพลงอื่นๆได้อีกด้วย แต่สำหรับคนที่เล่นดนตรีมากสักระยะหนึ่งแล้วในการแกะคอร์ดนั้นพี่เต่าอยากจะแนะนำให้เราใช้หูในการฟังให้มากที่สุดก่อน อย่าพึ่งรีบไปเซิร์ทดูคอร์ด เพื่อเป็นการฝึกทักษะการฟังของเรา ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากๆของนักดนตรี หรือถ้าเราพอจะมีความรู้เรื่องสเกล และ คีย์เพลงอยู่บ้าง ก็ให้ใช้ความรู้นั้นมาประกอบการแกะคอร์ด เช่น ถ้าเรารู้ว่าเพลงนี้อยู่ในคีย์ C คอร์ดแรกเริ่มที่ C ให้เราลองเดาคอร์ดต่อไปดูว่าเมโลดี้ของเพลงนั้นน่าจะลงกับคอร์ดไหนในคีย์ C วิธีนี้จะช่วยในเรื่องของทางคอร์ด รวมถึงการอิมโพไวท์ด้วย ถ้าเรารู้เรื่องทฤษฎีดนตรีอยู่บ้าง จะทำให้การแกะเพลงนั้นง่ายขึ้นมากเลย

แนะนำวิธีการแกะเพลง สำหรับมือใหม่

แกะโซโล่ อีกหน้าที่สำคัญที่ทำให้กีต้าร์นั้นมีจุดเด่นที่หลายๆคนสนใจคือ การโซโล่ ในขั้นตอนการแกะโซโล่นั้นความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรีค่อนข้างสำคัญ แต่สำหรับมือใหม่ที่เข้าใจเรื่องสเกลและคีย์ต่างๆ ก็ไม่ต้องท้อไปนะ เรายังสามารถแกะโซโล่ได้เช่นกัน เพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลาสักเล็กน้อย ในกรณีที่เพลงที่เรากำลังแกะอยู่นั้นมีโซโล่ที่โน้ตน้อยๆ ไม่เร็วและซับซ้อนมาก พี่เต่าแนะนำให้ใช้วิธีร้องตามโน้ตโซโล่ของเพลงนั้น โดยแบ่งโซโล่ออกเป็นวรรคๆ แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าเราร้องโน้ตไม่เพี้ยน จากนั้นจึงค่อยๆเทียบโน้ตที่เราร้องกับเสียงกีต้าร์ ข้อสำคัญคือเริ่มจากช้าๆ ในเย็นๆ ค่อยๆไปทีละ 2-3 โน้ต วิธีนี้อาจจะช้าและใช้ความอดทนค่อนข้างมากซักหน่อยแต่เราจะได้ประโยคจากการฟังและร้องซ้ำไปซ้ำมาจนขึ้นใจทำให้มีความแม่นยำให้การเล่น แต่ถ้ายังรู้สึกว่าวิธีนี้ยากไป หรือ เราเป็นคนร้องเพลงไม่ตรงคีย์ ก็ให้ใช้วิธีอ่าน Tab เอา ซึ่งมีมากมายในอินเตอร์เน็ต หรือจะดูคลิปการสอนจากยูทูปก็ได้ อีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องรายละเอียดต่างๆของโซโล่ ในการแกะโซโล่นั้นให้พยายามฟังว่าโซโล่ของเพลงนั้นๆใช้เทคนิคอะไรบ้าง เช่น การดันสาย การสไลด์ การ tapping โน้ตเสียงสั้น เสียงยาว การ vibrato ความหนัก-เบาต่างๆ พยายามทำตามให้ได้มากและใกล้เคียงที่สุด สิ่งที่เราจะได้จากการเก็บรายละเอียดในจุดนี้คือ Phasing หรือที่ได้ยินกันบ่อยๆว่า สำเนียงในการเล่น ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้ต่อยอดกับเพลงอื่นๆได้อีกมากมาย

แนะนำวิธีการแกะเพลง สำหรับมือใหม่

ทบทวนสิ่งที่แกะมา

เมื่อเราแกะเพลงๆนั้นในส่วนที่เรารับผิดชอบจนเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการเล่นเพื่อสิ่งที่แกะมาทั้งหมดซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบ เพื่อเป็นการทวนให้เกิดความแม่นยำให้การเล่นและปิดข้อผิดพลาด จุดเล็กจุดน้อยและรายละเอียดต่างๆ ควรจะซ้อมกับเมโทรนอมเพื่อความแม่นยำในเรื่องของสัดส่วนและจังหวะ ถ้ายังไม่คล่องก็เริ่มจาก tempo เล่นช้าๆก่อน เล่นให้ชัดเจน อย่ารีบ ถ้าจะให้ดีก็ลองอัดเสียงใส่โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เพื่อฟังสิ่งที่ตัวเองเล่นว่าเป็นอย่างไร เมื่อเราคิดว่าเราเล่นสิ่งที่เราแกะมาได้ดีแล้วก็ไปลุยในเรื่องของการซ้อมวงต่อได้เลย

แนะนำวิธีการแกะเพลง สำหรับมือใหม่

 

การแกะเพลง นั้นค่อนข้างจะใช้สมาธิและความอดทนที่สูง อาศัยความค่อยเป็นค่อยไป และความสม่ำเสมอ ในช่วงแรกๆนั้นเราอาจจะแกะเพลงได้ช้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ให้อาศัยการฟังเยอะๆ ฝึกแกะเพลงมากๆ ทำความเข้าใจกับคีย์และสเกลของดนตรี ยิ่งมีประสบการณ์ในการแกะเพลงมากเท่าไหร่ ทักษะการเล่นและการฟังของเราก็จะมากเท่านั้น เพราะอย่างทีเราบอกไปว่าการฝึกเล่นดนตรีนั้นก็เหมือนกับการเล่นกีฬา ต้องใช้เวลาฝึกฝนและทำซ้ำๆอย่างสม่ำเสมอ เพราะมันไม่มีทางลัดทางอื่นที่จะทำให้เราพัฒนาขึ้นมากได้ ทั้งหมดคือข้อแนะนำและความรู้ที่พี่เต่าอยากจะฝากให้มือใหม่ลองนำไปปรับใช้ รับรองว่าการแกะเพลงต่อๆไปก็จะทำได้อย่างสนุกและง่ายขึ้นครับ

ซื้อ เครื่องดนตรี ที่ไหนดี

ร้านเต่าแดง อยู่จังหวัดนครปฐุม ทางร้านมีบริการจัดส่งสินค้าถึงหน้าบ้านท่าน ค่าจัดส่ง ฟรี!!

สั่งซื้อสินค้า กับ เต่าแดง หรือ สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ คลิกเลย!!

1.มาซื้อสินค้าด้วยตัวท่านเอง ที่ร้าน เต่าแดง อยู่แถว ม.ศิลปากร นครปฐม

2.สอบถาม/สั่งซื้อสินค้า Facebook ► https://www.messenger.com/t/taodang/

3.Line Official ► @taodang อย่าลืมตัว @ นะครับ หรือ ที่ลิ้งนี้ http://line.me/ti/p/%40taodang

4.Tel ►097-017-9500 www ►https://taodangmusic.com/

5.ดูรูปเครื่องดนตรีเพลิน Instagram ► https://www.instagram.com/taodang/

6.Facebook ร้าน เต่าแดง ► https://www.facebook.com/taodang/

7.Twich เต่าแดง► https://www.twitch.tv/taodangmusic

8.BLog สาระเกี่ยวกับดนตรี ความรู้ บทเรียน สอนดนตรี แบบฟรี ๆ ►https://blog.taodangmusic.com

9.คลิปรีวิว สาระเกี่ยวกับดนตรีีีีีีีีีีีีีีีีี รับชมได้ที่ Youtube ► https://www.youtube.com/user/AIBluesoda

ตำแหน่งร้าน เต่าแดง คลิกเลย !!

https://goo.gl/maps/CywdiJjnyxz

Facebook Comments
[do_widget "WP Subscribe Widget"]