เฮ้ยย!! แบบนี้มัน ก๊อป กันรึเปล่า!!

เฮ้ยย!! แบบนี้มัน ก๊อป กันรึเปล่า!!

เฮ้ยๆ!! เพลงไทยเพลงนี้แม่งเหมือนเพลงฝรั่งนั้นเลยว่ะ… บ่อยแค่ไหนที่วงการเพลงของบ้านเราวนเวียนอยู่กับวงจรที่ชี้หน้าว่า วงนั้นก๊อปวงนี้ วงนี้ลอกวงนั้น แต่ไอ้คำว่า ก๊อปปี้ นี้มันวัดกันยังไง ท่อนริฟฟ์ เมโลดี้ ทางคอร์ด หรือแค่ความรู้สึก วันนี้เราจะมาแชร์และระบายปัญหาโลกแตกนี้กัน


 

เฮ้ยย!! แบบนี้มัน ก๊อป กันรึเปล่า!!

แน่นอนว่าการก็อปปี้หรือการลอกงานของคนอื่นมาเป็นของเราเองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ดีอยู่แล้ว และวงการเพลงของไทยนั้นก็อยู่กับเรื่องนี้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่จะเหมือนมากจนจับได้หรือจะแค่มีกลิ่นจางๆ อันนั้นก็แล้วแต่ความรู้สึกของแต่ละคน เพราะในการทำเพลงนั้นต้องเข้าใจก่อนว่ามันเป็นการสร้างที่มีส่วนประกอบหลายอย่างเข้ามาประกอบกัน ทั้ง คอร์ด เมโลดี้ เนื้อเพลง รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งการคิดงานเหล่านี้แน่นอนว่าต้องใช้ไอเดียและแรงบันดาลใจ แต่ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจนั้นเป็นสิ่งที่สะสมอยู่ในตัวเราผ่านประสบการณ์ ความชื่นชอบและไม่ชอบ รวมถึงความรู้ต่างๆที่เราได้พบเจอมาในช่วงชีวิต ถ้าสำหรับคนดนตรีสิ่งเหล่านี้ก็คือเพลงที่เคยฟัง เคยเล่น นักดนตรีหรือวงที่ชอบ ข้อมูลเกี่ยวกันดนตรีต่างๆที่เคยอ่าน ดังนั้นจึงมีการค้านกันอยู่ระหว่างคำว่า “ก็อปปี้” และ “แรงบันดาลใจ”

เฮ้ยย!! แบบนี้มัน ก๊อป กันรึเปล่า!!

ก๊อปปี้ VS แรงบันดาลใจ

ถ้าจะอธิบายความหมายของคำสองคำนี้ แน่นอนว่าในเชิงการทำงานนั้นคำว่า “ก๊อปปี้” ก็คือการลอกนั้นแหละครับ ส่วน “แรงบันดาลใจ” คือการที่เราชื่นชอบในสิ่งๆใดแล้วนำมันมาเป็นตัวขับเคลื่อนหรือสารตั้งต้นในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งมันอาจจะมีส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจนั้นเข้ามาปนอยู่ในงานของเราก็เป็นได้ เมื่ออธิบายแบบนี้จะเห็นได้ว่า คำว่า ก๊อปปี้และแรงบันดาลใจ นั้นมีเส้นบางๆกั้นอยู่ที่แทบจะมองไม่เห็น โดยคนฟังจะแยกออกได้ค่อนข้างยาก หรือถึงแม้ว่าจะแยกได้แต่ก็หาหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันมาตอกย้ำความรู้สึกนั้นได้ยากเต็มที เพราะดนตรีมีโน้ตอยู่ 7 ตัว และถ้าถามว่ามันบัญเอิญได้มั้ยที่เพลงหนึ่งจะดันไปคล้ายกับอีกเพลง ก็ต้องบอกว่ามีโอกาศเหมือนกันได้ ยกตัวอย่างเพลงไทยที่มีทางคอร์ดซ้ำกันไปมาอยู่ไม่กี่แบบ เพราะสระและวรรณยุกต์ของไทยที่จำกัดเรื่องคอร์ด ดังนั้นถ้ายึดจากวิธีนี้ก็อาจจะใช้คำว่าก๊อปไม่ได้ 

เฮ้ยย!! แบบนี้มัน ก๊อป กันรึเปล่า!!

แค่ไหนถึงเรียกว่า “ก๊อป”

ถ้าเราจะบอกว่าเพลงนี้ก๊อปเพลงนั้นรึป่าว คงต้องดูกันลึกๆถึงโครงสร้างของเพลง เช่น เมโลดี้ ทางเดินคอร์ด รายละเอียดของพาร์ทดนตรีต่างๆ ถ้าพูดกันในเชิงกฎหมายนั้นเขาจะนับกันที่เมโลดี้ของเพลงๆนั้น เช่น ถ้าคุณทำเพลงออกมาแล้วเมโลดี้ไปซ้ำกับเพลงอีกเพลงหนึ่งเกิน 7 ตัว ทางกฎหมายจะถือว่าเพลงของคุณคัดลอกเพลงคนอื่นมา และเจ้าของเพลงนั้นมีสิทธิ์ฟ้องคุณได้ แต่กฎหมายข้อนี้ก็มีช่องโหว่อยู่เหมือนกัน คือ แม้ทางคอร์ดจะเหมือนกันแต่ถ้าเมโลดี้ไม่เหมือนกันเกิน 7 ตัว เท่ากับว่าเพลงนั้นไม่ได้ก๊อปใคร แม้คนฟังจะรู้สึกว่ามันเหมือนเพลงไหนเพลงหนึ่งก็ตาม

เฮ้ยย!! แบบนี้มัน ก๊อป กันรึเปล่า!!

ดังนั้นจุดนี้จึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้นักแต่งเพลงหรือกลุ่มคนทำเพลงที่มีเจตนาจะจับเพลงของคนอื่นมาน้ำอาบปะแป้งซะใหม่ให้กลายเป็นเพลงของตัวเองแล้วนำออกขายหารายได้จากเพลงนั้นเป็นกอบเป็นกำ แล้วถ้าจะให้พูดกันตรงๆวงการดนตรีในบ้านเราก็มีผลงานที่ออกมาในลักษณะนี้จำนวนมากและมีมาอย่างยาวนานแล้วด้วย โดยไม่เลือกว่าจะเป็นวงจากค่ายใหญ่ระดับประเทศหรือแค่วงอินดี้เล็กๆทั่วไป อย่างในสมัยก่อนที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตทำให้เรารับรู้เรื่องกระแสเพลงจากประเทศอื่นๆได้น้อยมาก มันยิ่งเป็นช่องทางให้นักแต่งเพลงและคนทำเพลงที่มักง่ายเอาเพลงของคนอื่นมาใส่แค่เนื้อร้องหรือปรับทำนองใหม่ แล้วก็นำไปใส่เครดิตตัวเอง  เพราะมันง่ายที่จะทำให้คุณสร้างงานได้และเดินตามทางความสำเร็จของคนอื่นมันง่ายและปลอดภัยกว่าที่ทุกจะเลือกเดินทางที่คุณไม่รู้จัก

สรุป

ปัญหาการก๊อปก็ไม่ได้เกิดแค่วงการดนตรีประเทศเราเท่านั้นเพราะแม้แต่วงการดนตรีโลกก็มีปัญหานี้เช่นกัน เรียกว่าฟ้องกันจนล่มจมกันมาหลายรายแล้ว แต่ที่แย่ที่สุดคือแม้เพลงๆนั้นจะก๊อปกันมาแบบโน้ตต่อโน้ตชนิดที่ว่าใครฟังก็รู้ได้ไม่ยาก แต่กลับกลายเป็นว่ากระแสการก๊อปกลับทำให้เพลงเหล่านั้นยิ่งได้รับการตอบรับมากขึ้นกว่าเดิม แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอยู่บ้างแต่ก็จะโดนเหล่าแฟนคลับของนักร้องนักดนตรีกลุ่มนั้นออกมาเถียงแทนว่ามันไม่ได้ “ก๊อป” แต่มันคือ “แรงบันดาลใจ” แทนที่จะเป็นการไม่สนับสนุนวงดนตรีหรือนักร้องคนนั้น รวมถึงมีหลายครั้งที่ทำกันจนแนบเนียนชนิดที่นักฟังหรือนักวิจารณ์ก็ยังไม่กล้าฟันธงว่าก๊อป อาจเป็นเพราะคนที่ฟังเพลงนั้นหรือชอบเพลงนั้นก็แค่ฟังเพื่อความบันเทิงไม่ใช่นักดนตรีที่จะมานั่งวิเคราะห์ตัวเพลงกันขนาดนั้น จึงทำให้คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการดนตรีไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเท่าไร

แน่นอนว่าคนที่รู้ดีที่สุดคือ “คนแต่ง” และก็เป็นวิจารณญาณและจรรยาบรรณของคนแต่งและคนทำเพลงที่จะเลือกสร้างานแบบ “ศิลปิน” หรือสร้างงานแบบ “โจร” แต่สุดท้ายจะ “ก๊อป” หรือแค่ “แรงบันดาลใจ” ก็คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนฟังตัดสินกันเอง สุดท้ายหาก “ก๊อป” จริงคนจับไม่ได้ก็แล้วไป แต่เก็บไว้ให้คิด คนฟังไม่รู้ แต่คนแต่งรู้..

ติดต่อ สอบถามข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับดนตรี ได้ที่นี้

Facebook ► https://www.messenger.com/t/taodang/

Line Official ► @taodang อย่าลืมตัว @ นะครับ หรือ ที่ลิ้งนี้ http://line.me/ti/p/%40taodang

BLog สาระเกี่ยวกับดนตรี ความรู้ บทเรียน สอนดนตรี แบบฟรี ๆ ►https://blog.taodangmusic.com

คลิปรีวิว สาระเกี่ยวกับดนตรีีีีีีีีีีีีีีีีี รับชมได้ที่ Youtube ► https://www.youtube.com/user/AIBluesoda


 

Facebook Comments
[do_widget "WP Subscribe Widget"]